Menu

โครงการป้องกันและแก้ไขดินถล่มโดยการใช้กระสอบมีปีก ร่วมกับหญ้าแฝก และวิธีกล โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 4 อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

บนดอยสูงจากระดับน้ำทะเล 1,850 เมตร บ้านหัวแม่คำ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย แนวชายแดนไทยกับสหภาพเมียนมา ณ ที่นี่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 4 ที่เปิดสอนเด็ก ๆ กลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ ลาหู่ และอาข่าในพื้นที่ จำนวน 150 คน หากไม่ใช่ฤดูท่องเที่ยวชมความงามของดอกบัวตอง ที่นี่แทบไร้ผู้มาเยือน เพราะเส้นทางที่คดเคี้ยวกว่าหนึ่งร้อยกิโลเมตรจากตัวเมือง และต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่า 6 ชั่วโมงกว่าจะถึงโรงเรียน

ปี 2555 มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน ได้เข้ามาทำโครงการพัฒนาทักษะภาษาไทยสำหรับครู ตชด. เพื่อให้เด็กได้อ่านและเขียนภาษาไทยให้ดี เพื่อเด็กได้เรียนวิชาอื่นๆ ได้อย่างเข้าใจ ปี 2557 เป็นความร่วมมืออีกครั้งที่มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน คุณปิติพงษ์ คิดการเหมาะทีมวิจัยชุมชนบ้านหน้าถ้ำ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และคุณเมธี ทิพย์สิทธิ์ผู้เชี่ยวด้านการเสริมสร้างความแข็งแรงบนที่ลาดชันโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-เมียนมา ได้นำความรู้จากการลงมือปฏิบัติจากโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาการแก้ไขปัญหาดินถล่มบนที่สูงชันตามแนวพระราชดำริ (มูลนิธิชัยพัฒนา) : กรณีศึกษาบ้านหน้าถ้ำ ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีมาถ่ายทอดความรู้และทำงานร่วมกับชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ ลาหู่ และอาข่าและคณะครู นักเรียน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 4  ในการแก้ไขปัญหาการการกัดเซาะบริเวณไหล่เขาที่สร้างอาคาร ซึ่งเกิดจากไม่ได้ทำระบบระบายน้ำ เมื่อฝนตกหนักทำให้น้ำเกิดรวมตัวกัน และไหลลงพื้นที่ด้านล่างอย่างรวดเร็วและรุนแรงเกิดการกัดเซาะอย่างต่อเนื่อง ต้นกระถินณรงค์และต้นทะโล้ที่อยู่ด้านล่างโดนน้ำกัดเซาะจนไม่เหลือดินเห็นแต่รากโผ่ลพร้อมล้ม เสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินของครูและนักเรียน 

การดำเนินโครงการและผลลัพท์ที่เกิดขึ้น 
ครูและนักเรียนได้ใช้การตัดขั้นบันไดเป็นขั้นย่อยบริเวณด้านบนอาคารและบริเวณพื้นที่ลาดชันพร้อมปลูกหญ้าแฝก และปรับพื้นที่ให้มีระบบระบายน้ำ ทำรางระบายน้ำ เพื่อกระจายน้ำให้ไหลไปตามทิศทางที่กำหนด ส่วนพื้นที่ต้นไม้ที่ถูกกัดเซาะเห็นแต่รากได้ใช้กระสอบพสาสติกแบบมีปีกใส่ดินวางเรียงซ้อนทับกันเป็นขั้น ๆ ใต้ต้นไม้พร้อมปลูกหญ้าแฝกไว้สำหรับยึดหน้าดิน ทำให้ช่วยพยุงต้นไม้ไม่ให้ล้มและกันดินบริเวณนั้นไม่ให้ถล่ม นอกจากพื้นที่ลาดชันในโรงเรียนมีความปลอดภัยขึ้น เด็ก ๆ ยังได้มีที่เล่นใต้ร่มเงากระถินณรงค์และต้นทะโล้แห่งใหม่ ชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ ลาหู่ และอาข่าได้เรียนรู้เทคนิคการเรียงกระสอบ การตัดขั้นบันได ระบบระบายน้ำ การปลูกหญ้าแฝก เพื่อช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพของไหล่เขาในโรงเรียน การอนุรักษ์ต้นไม้บริเวณพื้นที่ลาดชันแล้วนั้น มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน คุณปิติพงษ์ คิดการเหมาะ ทีมวิจัย ชุมชนบ้านหน้าถ้ำ และคุณเมธี ทิพย์สิทธิ์ ยังได้ความรู้เทคนิควิธีการ การตัดไม้ไผ่ การสานแปลงไม้ไผ่สำหรับปลูกหญ้าแฝกจากชาวบ้านสอนกลับคืนมาพัฒนาเสริมสร้างเป็นความรู้ขึ้นใหม่ และนำไปใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนกันต่อไป



 
แกลลอรี่ภาพ
© 2023 Power For Sustainable Future Foundation. All Rights Reserved